ข้อมูลที่ควรรู้ เพื่อความปลอดภัยในการใข้สารเคมี
- Wannisa
- 7 ต.ค. 2567
- ยาว 3 นาที
อัปเดตเมื่อ 8 ต.ค. 2567

มาทำความรู้จักกับสารเคมีกันค่ะ
ในหัวข้อ 1. รหัสประจำตัวของสารเคมี (Cas No.)
2. ความเป็นอันตรายของสารเคมี
3. วิธีการจำแนกการเก็บ อย่างปลอดภัยวิธีการเก็บ อย่างปลอดภัย
4. หลักการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย
5. การปฏิบัติเมื่อเกิดการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย
CAS Registry number หรือ Cas no. เป็นชุดตัวเลขที่กำหนดโดย Chemical Abstracts Service ประกอดด้วยชุดตัวเลขของ 3 กลุ่ม (xxxxxx-xx-x) พิจารณาจากสารที่สามารถแสดงสูตรได้ในเชิงอะตอม การจับของอะตอม และโครงสร้าง 3 มิติ ส่วนแรกประกอบด้วยตัวเลข 2-6 หลัก ส่วนที่สองประกอบด้วยตัวเลข 2 หลัก ส่วนสุดท้ายเป็นตัวเลข 1 หลัก เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของส่วนที่1 และ2
ตัวอย่างเช่น
ตัวอย่าง Xylene | CAS-Number |
unspecified isomer | 1330-20-7 |
m-Xylene | 108-38-3 |
o-Xylene | 95-47-6 |
p-Xylene | 106-42-3 |
ความเป็นอันตรายของสารเคมี
แบ่งเป็น 2.1 ความเป็นอันตรายด้านกายภาพและเคมี (Physicochemical hazard) เช่น ความไวไฟ การเกิดระเบิดได้ การเกิดปฎิกิริยาเคมีรุนแรง เป็นต้น
2.2 ความเป็นอันตรายด้านสุขภาพ (Health hazard)
เช่น การเป็นสารก่อมะเร็ง ความเป็นพิษเฉียบพลัน ความระคายเคือง เป็นต้น
2.3 ความเป็นอันตรายต่อด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental hazard) เช่น ความเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ การทำลายชั้นบรรยากาศโลก เป็นต้น
แบ่งตาม UN Class United Nations Committee of Experts on the Transport of Dangerous Goods ได้จำแนกสารที่เป็นอันตรายออกเป็น 9 ประเภทดังนี้
ประเภทที่1 ระเบิดได้(Explosives)
ประเภทที่2 ก๊าซ (Gases) แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
2.1 ก๊าซไวไฟ (Flammable Gases)
2.2 ก๊าซไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (Non-flammable Non-toxic Gases)
2.3 ก๊าซพิษ (Poison Gases
ประเภทที่3 ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)
ประเภทที่4 แบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
4.1 ของแข็งไวไฟ (Flammable Solids)
4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances Liable to Spontaneous Combustion)
4.3 สารที่สัมผัสกับน้ำแล้วทำให้เกิดก๊าซไวไฟ (Substances which in Contact with Water Emit Flammable Gases)
ประเภทที่ 5 แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
5.1 สารออกซิไดส์ (Oxidizing Substances)
5.2 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic Peroxides)
ประเภทที่ 6 แบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย ดังนี้
6.1 สารพิษ (Toxic Substances)
6.2 สารติดเชื้อ (Infectious Substances)
ประเภทที่ 7 วัสดุกัมมันตรังสี
ประเภทที่ 8 สารกัดกร่อน
ประเภทที่ 9 วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด
แบ่งตาม ตามระบบ GHS
1. ความเป็นอันตรายทางกายภาพ (17 ประเภท)
▪ วัตถุระเบิด ▪ ก๊าซไวไฟ ▪ ละอองลอยไวไฟ ▪ ก๊าซออกซิไดซ์ ▪ ก๊าซภายใต้ ความดัน ▪ ของเหลวไวไฟ ▪ ของแข็งไวไฟ ▪ ของเหลว ออกซิไดซ์ ▪ ของแข็งออกซิไดซ์ ▪ สารที่ท าปฏิกิริยา ได้เอง ▪ ของเหลวที่ลุกติด ไฟได้เองในอากาศ ▪ ของแข็งที่ลุกติดไฟ ได้เองในอากาศ ▪ สารที่เกิดความ ร้อนได้เอง ▪ สารที่สัมผัสน้ำแล้วทำให้ก๊าซไวไฟ ▪ สารเพอร์ออกไซด์ อินทรีย์ ▪ สารกัดกร่อนโลหะ ▪ Desensitized explosives
2 .ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (10 ประเภท)
▪ ความเป็นพิษ เฉียบพลัน ▪ การกัดกร่อนและ การระคายเคือง ต่อผิวหนัง ▪ การท าลายดวงตา อย่างรุนแรงและ การระคายเคือง ต่อดวงตา ▪ การท าให้ไวต่อการ กระตุ้นอาการแพ้ต่อ ระบบทางเดินหายใจ หรือผิวหนัง ▪ การก่อให้เกิดการ กลายพันธุ์ของเซลล์ สืบพันธุ์ ▪ การก่อมะเร็ง ▪ ความเป็นพิษต่อ ระบบสืบพันธุ์ ▪ ความเป็นพิษต่อ อวัยวะเป้าหมาย อย่างเฉพาะเจาะจง จากการรับสัมผัสครั้ง เดียว ▪ ความเป็นพิษต่อ อวัยวะเป้าหมาย อย่างเฉพาะเจาะจง จากการรับสัมผัสซ้ำ ▪ ความเป็นอันตรายจากการสำลัก
3. ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (2 ประเภท)
▪ ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ ▪ ความเป็นอันตรายต่อชั้นโอโซน
รูปภาพสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมีต่างๆตามระบบ GHS

เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS)
แสดงข้อมูลเฉพาะของสารเคมีนั้น แสดงรายละเอียดลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การ เก็บรักษา การขนส่ง การกำจั และอื่นๆ เพื่อให้การดำาเนินการเกี่ยวกับสารนั้นเป็นไปอย่าง ถูกต้องและปลอดภัย
ข้อมูลหลักที่แสดงในเอกสาร
1.ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตและหรือจำาหน่าย (Identification of the substance/preparation and of the Company/undertake) | 9. คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ (Physical and Chemical Properties) |
2.ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย (Hazards Identification) | 10. ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา (Stability and Reactivity) |
3.ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition/Information on Ingredients) | 11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological Information) |
4. มาตรการปฐมพยาบาล (First Aid Measures) | 12. ข้อมูลเชิงนิเวศน์ (Ecological Information) |
5. มาตรการผจญเพลิง (Fire Fighting Measures) | 13. มาตรการการก าจัด (Disposal Considerations) |
6. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ (Accidental Release Measures) | 14. ข้อมูลส าหรับการขนส่ง (Transport Information) |
7. ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา (Handling and Storage) | 15. ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (Regulatory Information) |
8. การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันภัยส่วนบุคคล (Exposure Controls/Personal Protection) | 16. ข้อมูลอื่น (Other Information) |
3. วิธีการจำแนกการเก็บ อย่างปลอดภัย
การจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตรายสำหรับการเก็บรักษานั้น พิจารณาจากคุณสมบัติความเป็นอันตรายหลัก ได้แก่ คุณสมบัติการติดไฟ การระเบิด และการออกซิไดซ์ โดยมีประเภทสารเคมีและวัตถุอันตรายที่จำแนกออกมาเป็นดังนี้:
3.1. ประเภท 1 วัตถุระเบิด (Explosive substances) หมายถึง วัตถุระเบิดตามเกณฑ์ของกฎหมายวัตถุระเบิดของกระทรวงกลาโหม หรือสินค้าอันตรายประเภทที่ 1 ใน UN –Recommendations หรือข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่ม 1 (TP I)
3.2. ประเภท 2A ก๊าซอัด ก๊าซเหลว หรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดัน (Compressed, liquefied and dissolved gases) หมายถึง ก๊าซซึ่งมีสภาพก๊าซโดยสมบุรณ์ที่อุณหภูมิ 20 oC ที่ความดันปกติ 101.3 กิโลปาสคาล รวมถึงก๊าซตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายประเภทที่ 2 ใน UN –Recommendations หรือข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่ม 1 (TP I) และก๊าซที่ถูกจำแนกให้อยู่ในประเภทอื่นตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตราย (เช่น ก๊าซ hydrogen fluoride ที่ถูกจัดไปอยู่ในประเภทที่ 8) แต่ไม่รวมถึงก๊าซอัดที่บรรจุอยู่ในกระป๋องสเปรย์ และไม่รวมถึงก๊าซเหลวเย็นจัด (Refrigerated liquefied gas or Cryogenic liquefied gas)
3.3. ประเภท 2B ก๊าซภายใต้ความดันในภาชนะบรรจุขนาดเล็ก (กระป๋องสเปรย์) (Pressurized small gas containers; aerosol can/aerosol container) หมายถึง ภาชนะปิดที่มีความดัน (Pressure Receptacles) อุปกรณ์ฉีดละอองลอย (Aerosol Dispensers) ภาชนะที่ทำด้วยโลหะ แก้ว หรือพลาสติกที่ออกแบบให้ใช้งานครั้งเดียว ซึ่งภายในบรรจุภัณฑ์นี้ประกอบด้วยก๊าซอัด หรือก๊าซเหลว หรือก๊าซที่ละลายภายใต้ความดันที่อัดลงไปในบรรจุภัณฑ์นั้น ซึ่งอาจมีหรือไม่มีส่วนผสมของสารเคมีอื่นที่อยู่ในรูปของเหลว ของเหลวข้น หรือผง ภาชนะบรรจุจะมีอุปกรณ์ฉีดพ่นสำหรับฉีดพ่นสารเคมีในรูปอนุภาคของแข็ง หรือของเหลว ที่แขวนตัวลอยอยู่ในละอองก๊าซ ลักษณะผลิตภัณฑ์ที่ฉีดพ่นออกมาเป็นรูปโฟม หรือของเหลวข้น หรือผง หรือของเหลว
3.4. ประเภท 3A ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) หมายถึง ของเหลวที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส การทดสอบแบบถ้วยปิด (closed cup) ทั้งนี้ของเหลวที่มีความหนืดอาจจัอยู่ในประเภท 3A หรือประเภท 10 ก็ได้ขึ้นกับคุณสมบัติความหนืด ความสามารถในการลุกกระจายของไฟ และคุณสมบัติที่ก่อให้เกิดบรรยากาศที่พร้อมจะระเบิด
3.5. ประเภท 3B ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) หมายถึงของเหลวที่มีตุดวาบไฟมากกว่า 60 องศาเซลเซียส ถึง 93 องศาเซลเซียส การทดสอบแบบถ้วยปิด (closed cup) และมีคุณสมบัติผสมเข้ากับน้ำไม่ได้
3.6. ประเภท 4.1A ของแข็งไวไฟ (Flammable solids) ที่มีคุณสมบัติการระเบิด หมายถึง สารตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายประเภทที่ 4.1 ที่มีคุณสมบัติระเบิดใน UN –Recommendations หรือข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่ม 1 (TP I) ได้แก่วัตถุระเบิดที่ถูกทำให้เฉื่อยด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์ หรือเจือจางโดยสารอื่นเพื่อข่มคุณสมบัติการระเบิด (solid desensitized explosive)
3.7. ประเภท 4.1B ของแข็งไวไฟ (Flammable solids) หมายถึง สารตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายประเภทที่ 4.1 ใน UN –Recommendations หรือข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่ม 1 (TP I) ที่ไม่มีคุณสมบัติระเบิด สามารถลุกไหม้ง่ายเนื่องจากการเสียดสีกัน หรือ เมื่อลุกไหม้สามารถลามออกไปได้อย่างรวดเร็ว โดยผลการทดสอบเวลาเผาไหม้น้อยกว่า 45 วินาที ในระยะทาง 100 มิลลิเมตรหรืออัดตราความเร็วการเผาไหม้มากกว่า 2.2 มิลลิเมตร/วินาที หากของแข็งนั้นเป็นผงโลหะหรือผงโลหะอัลลอยด์ต้องสามารถลุกไหม้และลุกลามไปตามความยาวของตัวอย่างที่นำมาทดสอบในเวลาไม่มากกว่า 10 นาที รวมทั้งสารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตัวเอง (Self reactive)
3.8. ประเภท 4.2 สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง (Substances liable to spontaneous combustion) หมายถึง สารตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายประเภทที่ 4.2 ใน UN –Recommendations หรือข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่ม 1 (TP I) ได้แก่ 8.1 สาร Pyrophoric ที่เกิดความร้อนจากที่ตัวสารเองทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ซึ่งภายใน 5 นาที อุณหภูมิจะสูงขึ้นจนถึงอุณหภูมิที่สามารถลุกติดไฟได้ด้วยตนเอง (auto-ignition temperature) 8.2 สาร Self-heating ที่เกิดความร้อนจากการที่ตัวสารเองทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศที่อุณหภูมิรอบตัว ความร้อนที่เกิดขึ้นไม่สามารถระบายออกไปได้ทันและสะสมอย่างต่อเนื่องอยู่ภายใน จนทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงอุณหภูมิที่สามารถลุกติดไฟได้ด้วยตัวเอง (auto-ignition temperature) สารเหล่านี้จะลุกติดไฟก็ต่อเมื่อมีขนาดใหญ่ (หลายกิโลกรัม) และอบอยู่เป็นเวลานานๆ (หลายชั่วโมงหรือหลายวัน)
3.9. ประเภท 4.3 สารให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ (Substances which in contact with water emit flammable gases) หมายถึง สารตามข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายประเภทที่ 4.3 ใน UN –Recommendations หรือข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่ม 1 (TP I) ซึ่งเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือความชื้นในอากาศสามารถให้ก๊าซไวไฟเป็นส่วนผสมของอากาศในระดับความเข้มข้นที่สามารถจุดระเบิดเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้
3.10. ประเภท 5.1A 5.1 B 5.1C สารออกซิไดซ์ (Oxidizing substances) หมายถึงสารตามข้อกำหนดการขนส่งอันตรายประเภทที่ 5.1 ใน UN –Recommendations หรือข้อกำหนดการขนส่งสินค้าอันตรายของประเทศไทย เล่ม 1 (TP I) เป็นสารที่ตัวเองไม่จำเป็นต้องติดไฟ โดยทั่วไปจะปล่อยออกซิเจนซึ่งเป็นสาเหตุหรือร่วมในการลุกไหม้ของวัสดุอื่น สารประเภทนี้บางชนิด อาจรวมอยู่เป็นสารผสมอื่นได้ด้วย 4. หลักการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย
4.1 แนะนำให้เข้าฝึกอบรมวิธีการปฏิบัติงานกับสารเคมีอย่างปลอดภัยตามที่คณะฯหรือหน่วยงานกำหนด
4.2 ต้องรู้จักสารเคมีที่มีอยู่ และศึกษา MSDS/SDS ของสารเคมีนั้นๆ
4.3 ต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอนการทำงานและข้อกำหนดที่เกี่ยวของกับการใช้สารเคมีอย่างเข้มงวด
4.4 ขณะปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลทุกครั้ง
4.5 ห้ามใส Contact lens เมื่อต้องปฏิบัติงานเกี่ยวกันสารเคมี หากจำเป็นต้องใส่ contact lens ต้องสวมแว่นตานิรภัย (safety goggle) ที่ปิดได้มิดชิด และสามารถป้องกันไอระเหยได้
4.6 กรณีทำงานกับสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ ต้องทำในตู้ดูดสารเคมีหรือบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทโดยปฏิบัติงานอยู่ในต้นทางของลม
4.7 เมื่อสั่งซื้อสารเคมี ขอเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี หรือ MSDS จากผู้ผลิต/ผู้แทนจำหน่ายทุกครั้ง
4.8 ไม่ควรซื้อสารเคมีในปริมาณที่มากเกินกว่าการใช้งาน
4.9 ภาชนะบรรจุสารเคมีต้องมีฝาปิดแน่นสนิท อากาศเข้าไม่ได ห้ามเก็บสารเคมีในภาชนะเปิดเด็ดขาด และหมั่นตรวจสอบภาชนะให้มีสภาพพร้อมใช้อย่างสม่ำเสมอ
4.10 สารเคมีที่เหลือจากการนำออกมาใช้ ห้ามเทกลับลงไปในขวดเดิม
4.11 สารพิษที่เป็นสารมาตรฐาน (มีความบริสุทธิ์สูงเกือบ 100%) และสารก่อมะเร็ง ต้องเก็บในที่มิดชิด ใส่ตู่เก็บแยกกันจากสารเคมีชนิดอื่น โดยมีข้อความ "สารพิษ" และ "สารก่อมะเร็ง "ติดให้ชัดเจน
4.12 คุณสมบัติสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย คือ สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 60 นาที กรณีสารเคมีที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่รุนแรง ตัวเพิ่มออกซิเจน หรือไวไฟซึ่งอาจท าให้เกิดการะเบิดหรือไฟไหม้ สามารถทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 180 นาทีหรือไม่น้อยกว่า 90 นาที หากมีระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
4.13 บันทึกวันที่รับเข้าและวันเปิดใช้งานสารเคมี เพราะสารเคมีบางชนิดเมื่อไดสัมผัสกับอากาศแล้วระยะหนึ่ง จะเปลี่ยนเป็นสารเคมีชนิดอื่น เช่น peroxide
4.14 จัดให้มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็นในหน่วยงาน เช่น อ่างล้างมือที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย, ุชุดเก็บกู้สารเคมี Spill Kit, ฝักบัวฉุกเฉินสำหรับล้างตา เป็นต้น
5. การปฏิบัติเมื่อเกิดการปนเปื้อนของสารเคมีอันตราย
สารเคมีกระเด็นเข้าตาใช้ขวดน้ำล้างตาฉุกเฉินหรือในบริเวณนั้นมีอ่างน้ำให้รีบให้น้ำผ่านตาต่อเนื่องตลอดเวลาจนแน่ใจว่าเพียงพอแล้วอย่างน้อย 15 นาที
ห้ามขยี้ตาโดยเด็ดขาด
สารเคมีกรดถูกร่างกาย ผิวหนัง ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนสารเคมี
เปิดน้ำไหลผ่านร่างกายจากฝักบัวฉุกเฉิน (safety shower) หรือใช้สายยางรดน้ำผ่าน อย่างน้อย 15 นาที
ตรวจเช็คให้แน่ใจว่าไม่มีสารเคมีตกค้างโดยรอบ เช่น ถุงมือ รองเท้า หรือหมวก
การกินสารเคมี ดื่มน้ำตามในปริมาณมากๆ (ยกเว้น สารเคมีประเภทกรด ด่าง หรือไขมัน)
โทรสอบถามข้อมูลจากศูนย์พิษวิทยา เบอร์โทร.7007 และ/หรือดูเอกสารวิธีปฏิบัติงานเมื่อสารเคมีหกหลน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง อ้างอิงจาก: ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ.2550
อ้างอิงจาก: "ฐานความรู้เรื่องความปลอดภัยด้านสารเคมี"(ออนไลน์ 2567) http://www.chemtrack.org/storage.asp อ้างอิงจาก: "การใช้งานโปรแกรม ChemTrack&WasteTrack เพื่อจัดการข้อมูลสารเคมีและของเสียสารเคมี"(ออนไลน์ 2567)
Comments